ช่วงแรกชาบูเป็นหมาร่าเริงตามนิสัยของสายพันธุ์ จนอายุได้ 4 เดือน เราได้สังเกตุเห็นถึงความผิดปกติของการเดินของชาบู โดยมีความแตกต่างไปจากอีก 2 ตัว(พี่น้องคอกเดียวกันที่เลี้ยงไว้ด้วยกัน) เราจึงพาชาบูไปหาหมอที่คลินิคสัตว์ประจำของบ้าน เพื่อปรึกษาเรื่องกระดูกและการเดิน เพราะเรากลัวว่าชาบูจะเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม! แต่การไปปรึกษาหมอที่คลินิกนั้นกลับเป็นเรื่องผิดมหันต์ เพราะ หมอที่เราไปปรึกษาไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องกระดูก โดยวันนั้น หมอได้คลำตรวจแต่ไม่ได้ x-ray โดยให้เหตุผลกับเราว่า ถึง x-ray ก็มองไม่เห็น เพราะกระดูกของลูกหมาอายุ 4 เดือนนั้นยังฉาย x-ray ได้ไม่ชัดเพราะเป็นกระดูกอ่อนอยู่ หมอบอกว่าจากการคลำและดูอาการแล้ว น่าจะไม่เป็นอะไรมาก และได้ให้เราเสริมแคลเซียม และ รอจนชาบู 6 เดือนจึงมา x-ray ใหม่อีกครั้ง
"อาการที่เด่นชัดมากคือ นั่งท่าหมาปกติไม่ได้"
"ท่ายืนแปลกประหลาด และลุกนั่งลำบาก"
หลังจากปรึกษาหมอไป เรากลับบ้านด้วยความสบายใจและรีบเสริมแคลเซียมให้ชาบูและลูกๆตัวอื่น (ซึ่งไม่คาดคิดว่ามันจะส่งผลร้ายแรงในภายหลัง)
เมื่อครบ 6 เดือน เราตัดสินใจพาชาบูไปตรวจที่ รพส.ม.เกษตรกำแพงแสน และพบว่า ชาบูเป็น "โรคข้อสะโพกเสื่อมขั้นรุนแรง" และเริ่มส่งผลต่อเข่าและเส้นเอ็นบริเวณขาทั้งหมด หมอที่กำแพงแสนยื่นคำขาดว่า "ต้องผ่าตัดให้เร็วที่สุด" ถ้าไม่ผ่าท้ายที่สุดหมาเราจะหยุดการใช้ขา เพราะตอนนี้มาอาการเจ็บเมื่อเดิน และลุกนั่งแล้ว ชาบูจะกลายเป็นหมาพิการ เนื่องจากการเสื่อมของข้อสะโพก
"ภาพ x-ray จาก รพส.ม.เกษตรกำแพงแสน"
จากรูปด้านขวา(แดง)กระดูกขาเกือบจะหลุดออกจากเบ้าเชิงกรานแล้ว ไม่ชิดเหมือนด้านซ้าย(เขียว)
วันนี้เรางงมาก ไหนหมอที่คลินิกบอกไม่น่าจะเป็นอะไรมาก??เฮ้ยยย นี่เรื่องมันใหญ่ขนาดนี้เลยหรอ??
หมอที่กำแพงแสนบอกเราว่า ถ้ามาตรวจเจอตอน 4 เดือน จะเป็นการผ่าตัดง่ายๆ และมีเปอร์เซ็นต์การหายสูงมาก!!!! เหมือนโลกพลิกกลับด้าน เพราะตอน 4 เดือนเราไปให้หมอที่คลินิกตรวจมาแล้ว และหมอบอกน่าจะไม่เป็นอะไรมาก แล้ววันนี้คืออะไร เราสบายใจมา 2 เดือนโดยที่ไม่รู้ว่าเราปล่อยให้โอกาสทองนั้นหลุดจากชาบูไปแล้ว!!!!!!!
เมื่อโอกาสทองมันผ่านไปแล้วก็ไม่เป็นไร มันต้องมีวิธีที่ทำให้ชาบูหาย และกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ ไม่เจ็บเมื่อลุกนั่ง หรือ เดิน ซึ่งหมอที่กำแพงแสนเสนอวิธีการผ่าตัดแบบใช้แผ่น plate เพื่อช่วยปรับมุมองศาของเบ้าสะโพก (วิธีผ่าตัดแบบ TPO หรือ Triple Pelvic Osteotomy) สนนราคาค่ารักษา เฉพาะค่าผ่าตัดอยู่ที่ 40,000+++ บาท (ข้างละประมาณ 2 หมื่น++) ราคาแพงเพราะ แผ่น plate ที่ใช้มีความจำเพาะต่อหมาแต่ละตัว คำถามคือ จะเอาเงินจากไหนมารักษา ตั้งครึ่งแสน??? แต่จะปล่อยไว้ก็ไม่ได้ หมาเราจะพิการ!!!
ขอหมอกลับมานั่งคิดที่บ้านสักคืน ทุกๆอย่างมันดูยากไปหมด
กลับบ้านมารีบปรึกษาเพื่อนๆที่เลี้ยงหมาด้วยกัน จะผ่าดีมั้ย? หมอคนนี้เก่งพอหรือป่าว? คุณภาพชีวิตต่อไปจะเป็นยังไง? มีแต่คำถามๆๆๆ
ดังนั้นเมื่อมันมีแต่คำถาม เราก็ต้องการคนช่วยตอบ เราเริ่มหาข้อมูลในอินเตอร์เนต ดูว่ามีหมอคนไหนอีกที่เก่งและเชี่ยวชาญด้านกระดูกโดยเฉพาะ แล้วเราก็เจอหมอคนสำคัญ
วันนี้เรางงมาก ไหนหมอที่คลินิกบอกไม่น่าจะเป็นอะไรมาก??เฮ้ยยย นี่เรื่องมันใหญ่ขนาดนี้เลยหรอ??
หมอที่กำแพงแสนบอกเราว่า ถ้ามาตรวจเจอตอน 4 เดือน จะเป็นการผ่าตัดง่ายๆ และมีเปอร์เซ็นต์การหายสูงมาก!!!! เหมือนโลกพลิกกลับด้าน เพราะตอน 4 เดือนเราไปให้หมอที่คลินิกตรวจมาแล้ว และหมอบอกน่าจะไม่เป็นอะไรมาก แล้ววันนี้คืออะไร เราสบายใจมา 2 เดือนโดยที่ไม่รู้ว่าเราปล่อยให้โอกาสทองนั้นหลุดจากชาบูไปแล้ว!!!!!!!
เมื่อโอกาสทองมันผ่านไปแล้วก็ไม่เป็นไร มันต้องมีวิธีที่ทำให้ชาบูหาย และกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ ไม่เจ็บเมื่อลุกนั่ง หรือ เดิน ซึ่งหมอที่กำแพงแสนเสนอวิธีการผ่าตัดแบบใช้แผ่น plate เพื่อช่วยปรับมุมองศาของเบ้าสะโพก (วิธีผ่าตัดแบบ TPO หรือ Triple Pelvic Osteotomy) สนนราคาค่ารักษา เฉพาะค่าผ่าตัดอยู่ที่ 40,000+++ บาท (ข้างละประมาณ 2 หมื่น++) ราคาแพงเพราะ แผ่น plate ที่ใช้มีความจำเพาะต่อหมาแต่ละตัว คำถามคือ จะเอาเงินจากไหนมารักษา ตั้งครึ่งแสน??? แต่จะปล่อยไว้ก็ไม่ได้ หมาเราจะพิการ!!!
ขอหมอกลับมานั่งคิดที่บ้านสักคืน ทุกๆอย่างมันดูยากไปหมด
กลับบ้านมารีบปรึกษาเพื่อนๆที่เลี้ยงหมาด้วยกัน จะผ่าดีมั้ย? หมอคนนี้เก่งพอหรือป่าว? คุณภาพชีวิตต่อไปจะเป็นยังไง? มีแต่คำถามๆๆๆ
ดังนั้นเมื่อมันมีแต่คำถาม เราก็ต้องการคนช่วยตอบ เราเริ่มหาข้อมูลในอินเตอร์เนต ดูว่ามีหมอคนไหนอีกที่เก่งและเชี่ยวชาญด้านกระดูกโดยเฉพาะ แล้วเราก็เจอหมอคนสำคัญ
หมอตุ๊ โรงพยาบาลสัตว์สมุทรสงคราม (https://www.facebook.com/thirawat.sumalai)
คืนวันเดียวกันนั้นเลย เรารีบติดต่อไปหาหมอตุ๊เพื่อขอคำปรึกษาเคสของชาบู ซึ่งวันนั้นหมอก็กำลังยุ่งอยู่กับการสัมมนา แต่คืนนั้นหมอก็รีบติดต่อเรากลับมา(ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ)
เรา e-mail รูป x-ray และส่งคลิบการเดินของชาบูให้หมอดู ซึ่งคำตอบของหมอตุ๊ก็เหมือนหมอที่ รพส.กำแพงแสน คือต้องผ่าตัดโดยเร็วที่สุด
"ท่าเดินผิดปกติ ลากขา ขาสั่น และมีอาการเจ็บปวดของชาบู"
คืนนั้นได้ปรึกษากับหมอตุ๊และได้แนวทางการรักษาอีกแนวทางหนึ่ง คือการผ่าตัดแบบ JPS หรือ Juvenile Pubic Symphysiodesis ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดที่ค่อนข้างใหม่ และในประเทศไทยมีหมอที่ผ่าตัดวิธีนี้ได้ไม่มากนัก คืนนั้นหมอฝากให้เราทำการบ้าน โดยศึกษาวิธีการผ่าตัดแบบ TPO และ JPS และให้เราตัดสินใจว่าจะเลือกแบบไหนให้ชาบู โดย JPS มีค่าผ่าตัดอยู่ราวๆ 1 หมื่นบาทเท่านั้น
ต่อไปเป็นการบ้านหรือข้อมูลที่เราศึกษามา โดยส่วนใหญ่ก็หาอ่านในกูเกิลได้ทั้ังหมด
Ref: www.vpathai.org/private.../2008_(vol.20_no.2)_The_treatment_of.pdf
http://www.vet.cmu.ac.th/webmed/Branch/preclinic/Joint%20clinic.htm
http://www.siberianhuskyclubofthailand.com/viewtopic.php?f=19&t=2022
http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/J3183394/J3183394.html
http://www.perfectcompanion.com/?p=6614
http://www.vetsurgerycentral.com/jps.htm
http://veterinarynews.dvm360.com/surgery-stat-diagnosis-treatment-canine-hip-dysplasia
"ท่าเดินผิดปกติ ลากขา ขาสั่น และมีอาการเจ็บปวดของชาบู"
คืนนั้นได้ปรึกษากับหมอตุ๊และได้แนวทางการรักษาอีกแนวทางหนึ่ง คือการผ่าตัดแบบ JPS หรือ Juvenile Pubic Symphysiodesis ซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดที่ค่อนข้างใหม่ และในประเทศไทยมีหมอที่ผ่าตัดวิธีนี้ได้ไม่มากนัก คืนนั้นหมอฝากให้เราทำการบ้าน โดยศึกษาวิธีการผ่าตัดแบบ TPO และ JPS และให้เราตัดสินใจว่าจะเลือกแบบไหนให้ชาบู โดย JPS มีค่าผ่าตัดอยู่ราวๆ 1 หมื่นบาทเท่านั้น
ต่อไปเป็นการบ้านหรือข้อมูลที่เราศึกษามา โดยส่วนใหญ่ก็หาอ่านในกูเกิลได้ทั้ังหมด
Ref: www.vpathai.org/private.../2008_(vol.20_no.2)_The_treatment_of.pdf
http://www.vet.cmu.ac.th/webmed/Branch/preclinic/Joint%20clinic.htm
http://www.siberianhuskyclubofthailand.com/viewtopic.php?f=19&t=2022
http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/J3183394/J3183394.html
http://www.perfectcompanion.com/?p=6614
http://www.vetsurgerycentral.com/jps.htm
http://veterinarynews.dvm360.com/surgery-stat-diagnosis-treatment-canine-hip-dysplasia
https://www.youtube.com/watch?v=uf0sC3b-0kE
http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0195561692500596
http://www.vetsurgerycentral.com/fho.htm
http://www.vetsurgerycentral.com/tpo.htm
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรค hip dysplasia และแนวทางการรักษา
โรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติในสุนัข (canine hip dysplasia) เป็นโรคที่ทำให้สองขาหลังของสุนัขเดินอ่อนแรงหรือกะเผลก โดยมักเกิดในหมาพันธุ์ใหญ่ มีน้ำหนักมาก ทำให้ข้อสะโพกของสุนัขรับน้ำหนักมากกว่าปกติทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อต่อเสื่อม (osteoarthritis) ตามมาโดยเฉพาะสุนัขที่เป็นโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติอยู่แล้ว
อาการบ่งชี้ เช่น 1.สุนัขจะแสดงอาการเจ็บและเดินกะเผลกขาหลังข้างที่มีปัญหาข้อสะโพก
2.มีลักษณะการเดินผิดปกติหรือเดินหนีบสองขาหลัง
3.การเดินจะลงน้ำหนักที่ 2 ขาหน้ามากกว่าขาหลัง(เดินโก่งโค้ง ลงน้ำหนักที่ขาหลังมากกว่าขาหน้า) ทำให้กล้ามเนื้อขาหน้าแข็งแรงกว่าขาหลัง
4.ชอบนั่งหรือนอนมากกว่าการเดิน
5.ไม่อยากขึ้นหรือลงจากที่สูง
6.ลักษณะการวิ่งจะกระโดดสองขาหลังพร้อมกันเหมือนกระต่ายกระโดดซึ่งเรียกว่า bunny hopping gait
การตรวจ
1.ข้อสำคัญที่สุดคือ ควรตรวจให้เร็วที่สุดเมื่อพบอาการบ่งชี้ และตรวจกับสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกระดูก!!!!!
2.การตรวจก็จะมีทั้งคลำตรวจ ดูการเดินการวิ่ง รวมถึงการ x-ray
การรักษา
1.รักษาแบบไม่ผ่าตัด เป็นการบรรเทาอาการปวด บำรุงข้อต่อและทำให้กล้ามเนื้อสะโพกแข็งแรงมากกว่าการรักษาความผิดปกติของกระดูกข้อสะโพก จะช่วยชะลอการเสื่อมของข้อสะโพก ส่วนใหญ่จะใช้ยาบรรเทา โดยทำควบคู่ไปกับการควบคุมน้ำหนักสุนัข โภชนาการที่ดี รวมทั้งปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม(พื้นต้องไม่ลื่น เป็นต้น)
2.การรักษาแบบผ่าตัด จะช่วยลดความเจ็บปวดและสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูกข้อสะโพกของสุนัขให้เหมาะสมได้ การผ่าตัดนี้มีหลายแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความรุนแรงของโรค รวมถึงค่ารักษาด้วย
http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0195561692500596
http://www.vetsurgerycentral.com/fho.htm
http://www.vetsurgerycentral.com/tpo.htm
www.lib.ku.ac.th/KUCONF/KC4503003.pdf
https://en.wikipedia.org/wiki/Hip_score
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโรค hip dysplasia และแนวทางการรักษา
โรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติในสุนัข (canine hip dysplasia) เป็นโรคที่ทำให้สองขาหลังของสุนัขเดินอ่อนแรงหรือกะเผลก โดยมักเกิดในหมาพันธุ์ใหญ่ มีน้ำหนักมาก ทำให้ข้อสะโพกของสุนัขรับน้ำหนักมากกว่าปกติทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อต่อเสื่อม (osteoarthritis) ตามมาโดยเฉพาะสุนัขที่เป็นโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติอยู่แล้ว
อาการบ่งชี้ เช่น 1.สุนัขจะแสดงอาการเจ็บและเดินกะเผลกขาหลังข้างที่มีปัญหาข้อสะโพก
2.มีลักษณะการเดินผิดปกติหรือเดินหนีบสองขาหลัง
3.การเดินจะลงน้ำหนักที่ 2 ขาหน้ามากกว่าขาหลัง(เดินโก่งโค้ง ลงน้ำหนักที่ขาหลังมากกว่าขาหน้า) ทำให้กล้ามเนื้อขาหน้าแข็งแรงกว่าขาหลัง
4.ชอบนั่งหรือนอนมากกว่าการเดิน
5.ไม่อยากขึ้นหรือลงจากที่สูง
6.ลักษณะการวิ่งจะกระโดดสองขาหลังพร้อมกันเหมือนกระต่ายกระโดดซึ่งเรียกว่า bunny hopping gait
การตรวจ
1.ข้อสำคัญที่สุดคือ ควรตรวจให้เร็วที่สุดเมื่อพบอาการบ่งชี้ และตรวจกับสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกระดูก!!!!!
2.การตรวจก็จะมีทั้งคลำตรวจ ดูการเดินการวิ่ง รวมถึงการ x-ray
การรักษา
1.รักษาแบบไม่ผ่าตัด เป็นการบรรเทาอาการปวด บำรุงข้อต่อและทำให้กล้ามเนื้อสะโพกแข็งแรงมากกว่าการรักษาความผิดปกติของกระดูกข้อสะโพก จะช่วยชะลอการเสื่อมของข้อสะโพก ส่วนใหญ่จะใช้ยาบรรเทา โดยทำควบคู่ไปกับการควบคุมน้ำหนักสุนัข โภชนาการที่ดี รวมทั้งปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม(พื้นต้องไม่ลื่น เป็นต้น)
2.การรักษาแบบผ่าตัด จะช่วยลดความเจ็บปวดและสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูกข้อสะโพกของสุนัขให้เหมาะสมได้ การผ่าตัดนี้มีหลายแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความรุนแรงของโรค รวมถึงค่ารักษาด้วย
- Pectineus tendon or muscle surgery การทำศัลยกรรมตัดกล้ามเนื้อ pectineus (pectineus myotomy) หรือการตัดกล้ามเนื้อ pectineusออกบางส่วน (pectineus myectomy) เป็นการทำศัลยกรรมที่มีมานานใช้ในการรักษาโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติในระยะแรก
ข้อดี: ช่วยลดความเจ็บที่สะโพกได้, ราคาถูก, ใช้เวลาน้อย
ข้อเสีย: เกิดพังผืดที่เนื้อหรือเส้นเอ็น ทำให้กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นนั้นกลับมาเชื่อมต่อกันใหม่ได้ สุดท้ายโรคอาจพัฒนาไปเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมอีกครั้งได้ - Femoral head and neck resection เป็นการตัดเอาส่วนหัวและคอของกระดูกขาหลังส่วนต้นออกเพื่อลดผิวสัมผัสที่ขรุขระของหัวกระดูกขาหลังส่วนต้นกับเบ้ากระดูกเชิงกราน(ยิ่งขรุขระจะยิ่งเจ็บ เพราะกระดูกมันเสียดสีกับกระดูก) เพื่อให้เกิดเป็นข้อเทียมที่มีเนื้อเยื่อพังผืดมาแทน
ข้อดี: สามารถรักษาสุนัขที่มีปัญหาโรคข้อสะโพกเสื่อมในระยะเริ่มต้นหรือระยะเรื้อรังในรายที่ไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกได้
ข้อเสีย: ของวิธีนี้คือสุนัขจะต้องมีน้ำหนักน้อยเนื่องจากจะมีปัญหาในการรับน้ำหนักของขาหลังหลังจากทำไปแล้ว - Intertrochanteric osteotomy(ITO) เป็นวิธีการปรับเปลี่ยนมุมกระดูกในยุคแรกๆก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็น triple pelvic osteotomy (TPO)
- Triple Pelvic Osteotomy (TPO) ผ่าตัดโดยการตัดกระดูกเชิงกราน 3 แห่ง แล้วใช้อุปกรณ์(plate and screw)ปรับมุมของเบ้ากระดูกเชิงกรานในคลุมหัวกระดูกขาหลังส่วนต้นให้เหมาะสม โดย plate กับ screw ที่ใช้ต้องจำเพาะกับหมาแต่ละตัวเท่านั้น เพราะใช้ในการปรับมุมของเชิงกรานได้
ข้อดี: ทำได้ในสุนัขตั้งแต่อายุ 4–18 เดือนทำให้ข้อสะโพกมั่นคงมากขึ้น สุนัขใช้ขาได้โดยไม่เจ็บขา ลดการเกิดการเสื่อมของข้อสะโพกในอนาคต มีเปอร์เซ็นความสำเร็จสูงถึง 90% ข้อเสีย: ไม่สามารถรักษาตัวที่กระดูกข้อสะโพกเสื่อมไปมากแล้วหรือหัวกระดูกขาหลังส่วนต้นอยู่ในเบ้าน้อยกว่า 30% ค่าใช้จ่ายในการผ่าสูง ใช้เวลานาน และต้องกายภาพอีกนาน ต้องมีการดูแลหลังผ่าอย่างใกล้ชิด และหมาจะเจ็บมาก หลังผ่าในบางตัวอาจจะไม่ยอมเดินเป็นเดือนๆ- Total Hip Replacement (THR) เป็นการเปลี่ยนหัวกระดูกต้นขาและเบ้าเชิงกรานใหม่ทั้งหมด
ข้อดี: รักษาโรคข้อสะโพกเสื่อมได้ดีที่สุด
ข้อเสีย: ราคาสูงที่สุด และผ่าตัดในสุนัขที่เจริญเติบโตเต็มที่และมีน้ำหนักมากกว่า 20ปอนด์(ประมาณ 9กิโลกรัม) - Juvenile Pubic Symphysiodesis(JPS) เป็นวิธีการใหม่ล่าสุดที่ใช้ในการรักษาโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติ โดยใช้ความร้อนทำลายกระดูกเชิงกรานส่วน pelvic เพื่อให้กระดูกทั้งสองข้างเชื่อมเข้าด้วยกัน(ทำให้กระดูกส่วนนี้หยุดเจริญเติบโต) ซึ่งทำให้มุมของข้อสะโพกเปลี่ยนไปเมื่อสุนัขโตขึ้น วิธีการนี้เหมาะสำหรับสุนัขที่มีอายุระหว่าง 15 – 28 สัปดาห์(อายุไม่เกิน 5เดือน) เนื่องจากถ้าอายุมากไปกว่านี้ กระดูกเชิงกรานในสุนัขบางตัวอาจจะหยุดการเจริญเติบโตแล้วทำให้วิธีนี้ไม่ได้ผล
ข้อดี: เปอร์เซ็นความสำเร็จสูงถึง 95% เมื่อผ่าตัดเมื่อสุนัขอายุ 4 เดือน สามารถลดความเจ็บปวด รวมทั้งลดโอกาสการเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อมในอนาคตได้ แผลผ่าตัดเล็กนิดเดียว หมาจะไม่เจ็บมาก สามารถเดินได้เลย ไม่ต้องดูแลหลังผ่าตัดมาก
ข้อเสีย: สุนัขที่รักษาด้วยวิธีนี้ควรมีอายุไม่เกิน 5 เดือน หรือถ้าเกิน 5 เดือนไปแล้วโอกาสความสำเร็จจะลดลง(วิธีนี้ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของกระดูกดังนั้นอายุจึงสำคัญมาก) ใช้เวลารักษานาน จะเห็นผลหลังจากผ่าแล้ว 4 เดือนขึ้นไป
การดูแลหลังผ่าตัด
1.ดูแลแผลผ่าตัดให้ดี อย่าให้โดนน้ำ หรืออับชื้น
2.ปรับเปลี่ยนแหล่งที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ห้ามอยู่บนพื้นลื่นๆ
3.กินยาตามหมอสั่งให้สม่ำเสมอ
3.กินยาตามหมอสั่งให้สม่ำเสมอ
4.หลังผ่าควรกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง เช่น การพาเดินเล่น การว่ายน้ำ หรือการเดินในน้ำเป็นต้น
ยาที่ใช้ในการรักษา บำรุงข้อสะโพก
1.ยาในกลุ่ม Non-steroid antiinflammatory drugs (NSAIDs)
ยาในกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการลดความเจ็บปวดและลดการอักเสบเนื่องมาจากข้อสะโพกเสื่อม ปัจจุบันได้มีการพัฒนายาในกลุ่มนี้เพื่อใช้สำหรับสุนัขเท่านั้น ได้แก่ Carprofen(Rimadyl®), Etodolac (Etogesic®), Deracoxib (Deramaxx®), Ketoprofen, Meloxicam ไม่ควรให้สุนัขกินยาชนิดเหล่านี้เอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะยาเหล่านี้มีผลกับตับไตค่อนข้างมากไม่ควรกินเป้นเวลานานๆ
2.ยาบำรุงข้อต่อต่างๆ
- Glucosamine และ Chondroitin Glucosamine เป็นน้ำตาลตัวหนึ่งที่เป็นผลผลิตมาจาก glycosaminoglycans และ hyaluronate ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในขบวนการสร้างและสังเคราะห์กระดูกอ่อนผิวหน้าของข้อต่อ ส่วน chondroitin ได้จากขบวนการการสังเคราะห์ของ glycosaminoglycans มีผลไปยับยั้งเอ็นไซม์ที่ไปทำลายกระดูกอ่อนผิวหน้าของข้อต่อดังนั้นเมื่อร่างกายของสุนัขเป็นโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติหรือข้อกระดูกอักเสบ ทำให้ผิวหน้าของข้อต่อสวมกันไม่พอดีและเสียดสีกันเกิดการเสียหายและหลุดลอกออกไปโดย glucosamine และchondroitin จะไปกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน(chondrocytes) เพื่อให้มีการสังเคราะห์และสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาทดแทนกระดูกที่เสียหายซึ่งขบวนการนี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ ดังนั้นควรป้อนยาให้สุนัขรับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์ถึงจะเห็นผลทั้งนี้ยาทั้ง 2 ตัวปลอดภัยและมีผลข้างเคียงน้อยแต่ไม่มีผลในการลดความเจ็บปวด
- Perna Mussels เป็นยาที่ทำมาจากหอยแมลงภู่สีเขียวชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Perna canaliculus โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตจนได้เป็นยาในรูปผงออกมา ซึ่งหอยชนิดนี้สามารถพบได้ตามชายฝั่งประเทศนิวซีแลนด์ ดังนั้นถือได้ว่าเป็นยาที่หาได้จากแหล่งตามธรรมชาติที่อุดมไปด้วยโปรตีน glucosamines glycosaminoglycans(GAGs) และ omega-3 fatty acids เป็นอย่างมากซึ่ง GAGs จะช่วยสร้างน้ำหล่อลื่นในข้อต่อเพื่อลดแรงกระแทก ในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้ยี่ห้อ antinol ราคาสูง
- Shark Cartilage กระดูกปลาฉลามป่นสามารถนำมาผลิตยาในการรักษาโรคข้อสะโพกได้เช่นกันโดยมีส่วนประกอบใกล้เคียงกันกับ Perna mussels มีรายงานว่าการรับประทานกระดูกปลาฉลามป่นสามารถทำให้สุขภาพโดยรวมของข้อต่อดีขึ้น ช่วยลดความเจ็บปวด ลดการแข็งและการบวมของข้อต่อได้
- Methylsulfonylmethane (MSM) MSM มีประโยชน์ในเรื่องของการช่วยลดรอยแผลเป็น เพิ่มการสร้าง collagen ช่วยสร้างเซลล์ใหม่ซ่อมแซมเซลล์เก่า เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยลดการอักเสบและลดความเจ็บปวดในรายที่ปัญหาเรื่องข้ออักเสบ เนื่องจาก MSM มีผลทำให้การทำงานของ insulin ดีขึ้นและช่วยขบวนการเผาผลาญของคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น
- Creatine สามารถพบได้ในเนื้อแดงและปลาซึ่ง Creatine เป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน ถูกสังเคราะห์ภายในตับ ไต และตับอ่อน จากกรดอะมิโนarginine glycine และ methionine โดยที่ Creatine ไม่ได้เป็นตัวสร้างกล้ามเนื้อโดยตรงแต่จะมีผลช่วยเพิ่มการสร้างพลังงาน adenosine triphosphate (ATP)ให้กับกล้ามเนื้อของร่างกายทำงานได้มากขึ้นและนานขึ้น
- Vitamin C มีผลช่วยในการสังเคราะห์ Collagen ซึ่งเป็นส่วนประกอบของผนังกระดูก เส้นเลือดและกล้ามเนื้อ ดังนั้นสุนัขที่มีปัญหาเรื่องกระดูกข้อต่ออักเสบ วิตามินซีจะช่วยในเรื่องของการสร้างผิวหน้าของกระดูกข้อต่อให้แข็งแรงขึ้นรวมทั้งทำให้เอ็นข้อต่อมีความยืดหยุ่นมากขึ้นด้วย
- Polysulfated Glycosaminoglycan(Adequan) เป็นยาที่ใช้ในรูปแบบฉีดเข้าไปในข้อต่อติดกันทุกวันเป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อช่วยในเรื่องของการสังเคราะห์กระดูกใหม่และป้องกันการแตกกร่อนของผิวหน้าของกระดูกข้อต่อ
หลังจากช่วงสาระผ่านไป มาต่อกันเรื่องของชาบูตัวน้อยกันบ้าง
เมื่อได้ศึกษาวิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาทั้งหมดแล้ว เราตัดสินใจที่จะให้ชาบูผ่าแบบ JPS ก่อน เพราะเรายังมีหวังกับวิธีการผ่าแบบนี้(ถึงอายุชาบูจะ 6 เดือนแล้วก็เถอะ) รวมทั้งการดูแลหลังผ่าที่ง่ายและหมาเจ็บตัวน้อยกว่า TPO อีกอย่างนึงเพราะ TPO จะทำตอนทีี่ชาบูโตเต็มที่ก็ยังได้ ดังนั้นเราจึงเสี่ยงกับ JPS ก่อน (ถ้าไม่หายค่อยทำTPOได้)
สำหรับอาการบ่งชี้ของชาบูนั้นดูยากมากค่ะ นอกจากท่านั่งท่าเดินที่แปลกๆแล้ว เค้าไม่ร้องเจ็บสะด้วยซ้ำ(หมาจะอดทนมากๆ บางตัวไม่รู้ว่าเป็นโรคนี้จนกระทั่งเป็นมากๆแล้ว) ดังนั้นโรคนี้ต้องอาศัยความใส่ใจของเจ้าของมากๆ รีบไปตรวจตั้งแต่ 4 เดือนถ้ามีการบ่งชี้ เล็กๆน้อยๆ ก็ต้องรีบตรวจเลยค่ะ รักษาตอน 4 เดือนมีโอกาสหาย และรักษาง่ายกว่าอายุเยอะๆค่ะ
วันแรกที่เจอหมอตุ๊ หมอได้อธิบายวิธีการผ่าตัดแบบ JPS ให้เราฟังทั้งหมด รวมทั้งความเสี่ยงที่จะไม่หายด้วย
เริ่มต้นรักษาชาบู ต้อง x-ray และทำความรู้จักกับการประเมินโรคข้อสะโพกเสื่อมจากภาพถ่าย x-ray โดยการวัดจากมุมนอร์เบอร์ก (norberg angle) โดยปกติ ในหมาที่ไม่มีภาวะข้อสะโพกเสื่อมมุมนอร์เบอร์กจะมีค่ามากกว่า 105 องศาขึ้นไป(กระดูกขาและเบ้าสะโพกเชื่อมกันแน่นหนา) และหมาที่มีค่ามุมนอร์เบอร์กต่ำกว่า 90 องศาจะเป็นหมาที่เป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม โดยระหว่าง 90-105 องศายังถือว่าพอใช้
โดยวันแรกที่เจอหมอตุ๊นั้น สะโพกข้างขวาของชาบูมีมุมนอร์เบอร์กแค่ 83.7 องศา
และนอกเหนือจากนั้น ยังมีความขรุขระรอบๆเบ้าสะโพกเพราะกินแคลเซียม!!!!!!! คืออะไร คือความหวังดีของเราที่ให้เค้าเสริมแคลเซียม แต่กลับส่งผลร้ายให้เค้ามากๆๆๆๆ เดิมทีแค่การเสียดสีของกระดูกต้นขาและเบ้าสะโพกก็ทำให้เค้าเจ็บมากแล้ว เรายังเสริมแคลเซียมตัวร้ายเป็นเวลา 2 เดือน ทำให้บริเวณที่เสียดสีเกิดการพอกตัวของแคลเซียม ทำให้เค้าเจ็บมากยิ่งขึ้น!!!
ไม่รู้จะโทษใครดี สัตวแพทย์ที่สั่งให้เราเสริมแคลเซียมหรือตัวเราเองที่มักง่ายเลือกปรึกษาหมอที่ไม่มีความชำนาญด้านกระดูกเพียงพอ ดังนั้นนะคะ เราควรปรึกษาหมอที่มีความเชี่ยวชาญด้านกระดูกตั้งแต่เริ่มต้น และไม่ว่ายังไงก็ตาม ไม่ต้องเสริมแคลเซียมให้หมา ควรให้กิน Glucosamine และ Chondroitin แทนค่ะ
ในเมื่อเราให้แคลเซียมไปแล้ว หมาก็เจ็บไปแล้ว ความขรุขระก็เกิดขึ้นแล้ว มันแก้ไขได้ยาก แต่หมอตุ๊ก็ช่วยเต็มที่ค่ะ จากนั้นก็ถึงเวลาเข้าห้องผ่าตัด ใช้เวลาผ่าประมาณ 1-2 ชั่วโมงเองค่ะ (ผ่าวันที่ 16 ม.ค. 2559)
แผลผ่าตัดเล็กนิดเดียว ประมาณ 3 เซนติเมตรข้างๆอวัยวะเพศ แผลเหนืออวัยวะเพศเป็นแผลที่หมอผ่าสะดือจุ่นให้ชาบูนะคะ แผลใหญ่กว่าผ่าสะโพกอีก 55555 (สะดืนจุ่นในหมาถ้ามีขนาดใหญ่มากควรไปผ่าออกนะคะ เพราะมันอาจจะเป็นไส้เลื่อนได้ค่ะ ไส้ไหลลงสะดือเลย)
หลังผ่าก็โกนขนที่สะโพกนิดนึงเพื่อช่วยประคบร้อนเย็นให้เค้า กลับถึงบ้าน ชาบูก็เดินไปฉี่เองได้ เดินได้ปกติมากไม่เหมือนเพิ่งผ่าตัดเลย ยอมใจนางจริงๆ
ค่าใช้จ่ายวันผ่าสุทธิแล้วแค่ 9,550 บาท
หลังจากผ่าเสร็จสิ้นก็ต้องมีการนัดเพื่อติดตามผลการผ่าตัดก็จะมีค่าล้างแผลดูแผลรวมทั้งค่ายาอีกประมาณ 2,000 บาทค่ะ และนัดกับคุณหมอทุกเดือน
ทีนี้หลังจากผ่าตัดแล้วก็จะเป็นหน้าที่หลักของเจ้าของในการดูแล และ กายภาพบำบัดหลังผ่าอย่างต่อเนื่อง โดยชาบูต้องกินยาแก้ปวด(ตัวที่เป็นสารสกัดจากหอยแมลงภู่สีเขียว) รวมทั้ง Glucosamine และ Chondroitin รวมค่ายาแต่ละเดือนตกประมาณ 2,000 บาท (ขนหน้าแข้งร่วงกราว)
ปล. จบแล้วนะคะ เรื่องของน้องชาบู เป็นกระทู้ที่ยาวมากสำหรับเรา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลในกระทู้นี้จะเป็นประโยชน์กับหลายๆคน สักคนก็ดีใจละค่ะ มีข้อมูลตรงไหนที่ผิดพลาดหรือตกหล่นบอกได้เลยนะค้าาาาา
นอกจากยาก็จะต้องทำกายภาพโดยการว่ายน้ำอย้างน้อยสัปดาห์ละ 40 นาที (แบ่งว่ายครั้งละ 10-20 นาที) เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อสะโพกของชาบู เพราะชาบูมีกล้ามเนื้อสะโพกน้อยมาก เนื่องมาจากอาการเจ็บจากโรคข้อสะโพกเสื่อม ทำให้ใช้ขาหลังน้อย กล้ามเนื้อก็เลยน้อยด้วย ถ้ากล้ามเนื้อช่วงสะโพกแข็งแรงขึ้นก็จะช่วยในเรื่องของการพยุงข้อต่อได้ รวมทั้งจูงเดินเบาๆ โดยใช้เวลาน้อยๆ อีกด้วย
ส่วนของหน้าที่เจ้าของมีความสำคัญต่อโรคนี้มาก เจ้าของต้องดูแลเอาใจใส่ทั้งเรื่องการกินอาหาร(น้ำหนักตัวของหมาก็ห้ามมากเกินไป) การกินยา และการกายภาพ ต้องเข้าใจว่าโรคแบบนี้ต้องใช้เวลาในการรักษา กระดูกของเค้าต้องใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตและรักษาในส่วนนั้นๆ ส่วนไหนของบ้านที่ชาบูชอบไปอยู่บ่อยๆก็จะถูกปูด้วยแผ่นกันลื่น และชาบูจะอยู่ในบริเวณที่เป็นปูนหยาบๆเท่านั้น
ถ้าเจ้าของมีความเอาใจใส่และมีวินัยก็จะส่งผลให้น้องหมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2 เดือนผ่านไป จากการกายภาพอย่างเข้มข้นของชาบู
พบว่าาาา า า า าา "กล้ามเนื้อสะโพกแข็งแรงขึ้น"
"มุมนอร์เบอร์กเพิ่มมากขึ้น" เย้ๆๆๆ เฮๆๆๆๆๆ สำเร็จจจจแล้ววววว
ผมยืนและนั่งท่าสวยมากขึ้นและมีความสุขมากกคร้าบบบบบบบ ผมหล่อใช่มั้ยล่ะคร้าบ แต่เสียใจด้วยนะสาวๆทั้งหลาย ผมจะต้องถูกทำหมันเมื่อโตเต็มวัย เพราะโรคข้อสะโพกเสื่อมนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมได้ด้วย ดังนั้นเราไม่ควรให้หมาที่เป็นโรคนี้มีลูกหรือสืบพันธุ์ต่อนะคะ(ช่วยกันรณรงค์ๆและบอกต่อๆกัน) แม้ว่าเราจะเลือกแม่พันธุ็พ่อพันธุ์ที่ไม่เป็นโรคนี้ แต่โอกาสที่จะเจอยีนส์ด้อยในหมาพันธุ์ใหญ่ๆมีมากเลยนะคะ อย่างชาบูเกิดจากพ่อแม่ที่ปกติ และเค้าเป็น 1ใน 8 ของทั้งหมดที่แสดงโรคข้อสะโพกเสื่อม แสดงว่า 12.5% ของคู่พ่อแม่ชุดนี้อาจจะเกิดลูกที่มีความผิดปกติของสะโพกได้(ดังนั้นตัวแม่ที่บ้านจึงถูกทำหมันเรียบร้อย)
แม้ว่าวันนี้ชาบูจะยังไม่ดี 100% แต่เค้ายังสามารถเจริญเติบโตได้จนถึง 18 เดือน(เจริญเติบโตเต็มที่) ดังนั้นเราจึงมีความหวังค่ะ มีความหวังว่าเบ้าสะโพกเค้าจะดีขึ้นกว่านี้ เสียดายเวลาที่เสียไป 2 เดือน เสียดายที่ตัดสินใจผิดพลาดมามาก ดังนั้นเราจึงตั้งใจมากที่จะชดเชยให้เค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย ยาก็ต้องกินตรงเวลา รวมทั้งกายภาพอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะต้องเหนื่อยเป่าขนมากมาย(ขนหนามากกกกกกก) แต่ชีวิตของเค้าก็ต้องดำเนินต่อไป ดังนั้นเราไม่หวังว่าทุกๆอย่างที่ทำให้เค้าต้องได้ผลที่สมบูรณ์แบบ แต่เราคาดหวังเพียงแค่คุณภาพชีวิตของเค้าต้องดีกว่าแต่ก่อนค่ะ
สำหรับคนที่กำลังเผชิญกับโรคเดียวกันนี้หรือโรคอื่นๆนะคะ เราขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ ขอให้สู้และอดทนค่ะ ฟ้าหลังฝนสดใสเสมอ ยิ่งหมาเราสู้ด้วยแล้ว เราต้องยิ่งสู้ค่ะ FIGHTING!!!!!!
ปล. จบแล้วนะคะ เรื่องของน้องชาบู เป็นกระทู้ที่ยาวมากสำหรับเรา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลในกระทู้นี้จะเป็นประโยชน์กับหลายๆคน สักคนก็ดีใจละค่ะ มีข้อมูลตรงไหนที่ผิดพลาดหรือตกหล่นบอกได้เลยนะค้าาาาา